From 2.5PM to Zero: “Fighting Fires” a recap of Session #2 on the complexity and importance of the issue
By Courtney Savie Lawrence and Kin Fucharoen of the Circular Design Lab air pollution track with, Weenarin Lulitanonda ,Sivalee Anantachart (Soma), Laura Hammett, Phai Supkulawal and Liepa Olsauskaite
Last week the Circular Design Lab, in collaboration with the Thailand Clean Air Network held it’s second installment of the three part ‘pop up’ series designed to bring awareness and educated action towards a shift at the intersection of air pollution and health issues. As pointed out in our first session, unhealthy air quality- affecting over 90% of the world- has cascading effects, and is acutely problematic in Thailand as well.
You can read the big picture intention of our work in this post that sets the stage, or catch up on the recording, discussion of our kick off session, held on Earth Day. This initial session explored the connection between the COVID19 pandemic and Air Pollution, or “Invisible Enemies” confronting the world, also captured in the post here. Note, the next, yet last of the pop-up sessions, will be this upcoming Wednesday, May 6th and focused on “Grassroots to Government”- more details are here.
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Circular Design Lab ร่วมกับ เครือข่ายอากาศสะอาด (Thailand Clean Air Network) ได้จัด Webinar ตอนที่ 2 ในซีรี่ย์ From 2.5 to Zero ไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับท่านที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับที่มาที่ไปสามารถอ่านได้จาก Blog Post ที่พูดถึงภาพรวมของซีรี่ย์ From 2.5 to Zero หรือรับชมบันทึกภาพจาก Webinar ย้อนหลังและอ่านสรุปจาก Webinar ตอนที่ 1 ได้จากบทความนี้ และที่สำคัญ Webinar ตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของซีรี่ย์ จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:00–18:00 น. ในชื่อตอนที่ว่า “จากรากหญ้าสู่รัฐบาล” โดยอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ ที่นี่
Below we share the recording, detailed highlights, Q+A from the audience and action steps you can take, as well as the link for the next session coming up this Wednesday, May 6th at 5pm (ICT). We hope you are just as enlightened by the interesting perspective, experience and insights that our guest panel offered- from a Doctor in Forestry, a local village chief and a research expert from Chiang Mai University. The common denominator message you will find connects to the complexity of systems change- yet the urgency of collaboration and policy as the most efficient way to address the root causes, not just the symptoms that appear as toxic PM2.5 in the air.
สำหรับบทความสรุปจาก Webinar ตอนที่ 2 นี้ เราสรุปประเด็นสำคัญจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ที่ได้มานั่งพูดคุยกันถึงเรื่องปัญหาไฟป่าและมลพิษทางอากาศในภาคเหนือ โดยเราได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากกรมป่าไม้ หัวหน้าชุมชนที่มีบทบาทในการพิทักษ์ป่า และนักวิจัยด้านมลพิษทางอากาศจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งหากลองอ่านดู จะเห็นว่าปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ต้องการความร่วมมืออย่างเร่งด่วนจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาเชิงรุกที่ต้นเหตุจริงๆ
Session Highlights — don’t have time to watch? You can catch up below
Thanks to fantastic real-time note translation by the Circular Design Lab volunteer and engineer Kin Fucharoen, we have transcript extracts in both English and Thai. You can also see the webinar session slides here.
Excerpts of the Opening Remarks from Panelists
คำปราศรัยโดยวิทยากร
Por Luang: We have been fighting wildfires for about 30 years, where we have been responsible for 30,000 rai (48 sq.km) of the forest in Doi Pui; doing the complex work of preventing, monitoring, and controlling the spread of the fire. The area is a thick forest so any burning, once started, spreads very fast and is very difficult to control. As an example, the recent burning this year was caused by only about 5 fire spots that spread throughout the mountain. Over time we have noticed that true wildfires rarely exist anymore; most are now man-made, stemming largely from carelessness and lack of understanding from hunter-gatherers in the area.
พ่อหลวงนวย: หมู่บ้านเราปฏิบัติงานดูแลผืนป่าดอยปุยและป้องกันไฟมากว่า 30 ปีแล้ว โดยเรามีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดประมาณ 30,000 ไร่ ทำทุกอย่างตั้งแต่การป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการลุกลามของไฟป่า ซึ่งเป็นงานที่ยากเพราะป่าแถวนี้เป็นป่าทึบ ไฟประทุขึ้นมาเพียงจุดเดียวก็ลุกลามไปทั่งผืนป่าได้ง่าย อย่างเช่นไฟป่าเมื่อต้นปีนี้ เกิดจากการประทุของไฟแค่เพียง 5 จุดเท่านั้น โดยจากประสบการณ์หลายปีของเรา เราสังเกตว่าไฟป่าพักหลังมานี้ส่วนมากเกิดจากการจุดโดยคน ไม่ว่าจะเป็นการจุดโดยอุบัติเหตุจากความไม่ระมัดระวัง หรือการจุดเพื่อหาของป่าโดยขาดความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
Dr.Veerachai: Thailand’s fire management started about 40 years ago in the Doi Suthep area. In that timespan we have gathered a lot of knowledge about wildfire behaviors; what’s missing is the understanding of fire-induced smoke behaviors. Wildfire control is under the purview of the Royal Forest Department (Ministry of Natural Resources and Environment), but the department doesn’t have enough manpower. Training of manpower, especially firefighters, is complex. Fighting wildfire is dangerous and training — especially on safety — is very important; this is particularly so with the recent wildfires in Thailand which have gotten more severe recently.
ดร.วีรชัย: งานการควบคุมไฟป่าในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ประมาณ 40 ปีที่แล้วตอนมีไฟป่าในพื้นที่ดอยสุเทพ จากตอนนั้นเป็นต้นมา เรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับไฟป่าและลักษณะพฤติกรรมของไฟเยอะ แต่สิ่งที่เราไม่มีคือลักษณะพฤติกรรม เช่นการกระจายตัว ของควันจากไฟป่า นอกจากนี้ ทางกรมป่าไม้เองก็ไม่มีกำลังคนเพียงพอ เนื่องจากการเตรียมกำลังคนจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมอย่างดีเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่องานควบคุมไฟป่า นับวันก็จะยากลำบากยิ่งขึ้นจากความรุนแรงของไฟป่าที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
In terms of open burning control, satellite images have been used to detect smoke and burning hotspots. The problem is that satellites are easy to “avoid”, and farmers who know about them will simply avoid the satellites’ sweep and burn “under the radar”. So we need to have better means of monitoring the hotspots and controlling the burning.
ในส่วนของการควบคุมการเผาไร่เพื่อการเกษตร ได้เริ่มมีการเอาภาพถ่ายดาวเทียมมาประกอบการตรวจหาจุดความร้อนและพื้นที่ที่มีผู้ลักลอบเผา อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายดาวเทียมไม่ได้มีความแม่นยำมาก เพราะดาวเทียมจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นาน การหลบเลี่ยงและลักลอบเผาในช่วงที่ดาวเทียมจับไม่ได้ สามารถทำได้ไม่ยาก ดังนั้น เราต้องเริ่มหาวิธีการตรวจสอบพื้นที่ที่มีการลักลอบไร่ใหม่ที่แม่นยำกว่านี้
Burning control measures have also not been as effective because they come from a one-size-fits-all concept. Different areas have different burning behaviors, e.g. some areas start burning as early as February while others don’t start until March; different kinds of biomass also produce different smoke behaviors and pollution. A blanket burning control measure therefore will not work; local context needs to be considered. It is unrealistic to expect a zero-burning; instead we should expect burning to be a part of Thai agriculture for a long time yet, and find ways to control it to minimize impact.
ส่วนนโยบายการควบคุมการเผาโดยการจำกัดช่วงเวลา ซึ่งเป็นมาตรการมาจากส่วนกลาง ก็ไม่ได้ประสิทธิผลมากนัก เพราะอย่าลืมว่าพื้นที่เกษตรกรรมแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน บางแห่งเริ่มเผากันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่บางแห่งรอจนกระทั่งปลายเดือนมีนาคมถึงเริ่มเผา อีกทั้งลักษณะของควันไฟและมลพิษที่เกิดจากการเผาพืชไร่แต่ละชนิดก็แตกต่างกัน มันเป็นไปไม่ได้ที่จะห้ามไม่ให้มีการเผาไร่เลย การเผาไร่อยู่คู่กับการเกษตรในประเทศไทยมานาน ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่าเราจะต้องอยู่กับการเผาไร่ต่อไป สิ่งที่ต้องทำคือหาแนวทางการควบคุมเพื่อให้การเผาไร่นั้นส่งผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศน้อยที่สุด
The bottom line is we need effective laws and regulations governing the management and control of open burning and wildfires, possibly included under the Clean Air Act legislation.
พื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่เราต้องมีคือกฏหมายและมาตรการควบคุมไฟที่ชัดเจนและจำเพาะ โดยอาจจัดเป็นส่วนหนึ่ง หรือเป็นกฏหมายลูกของพระราชบัญญัติอากาศสะอาดสำหรับประเทศไทย
Dr.Somporn: Based on the research done using air pollution data from the Pollution Control Department, there is a strong association between air pollution levels and numbers of open burning hotspots especially during the dry season (March — April). This year, with the wildfire on Doi Suthep, air pollution levels in Chiang Mai rose dangerously. Mae Hong Son province and Mae Sai district, similarly, showed high levels of air pollution this year possibly due to trans-boundary pollution from neighboring countries.
ดร.สมพร: จากการวิจัยโดยใช้ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ เราพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับมลพิษทางอากาศกับจำนวนจุดความร้อนจากไฟป่าหรือการเผาไร่ทางการเกษตร โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง (มีนาคม — เมษายน) โดยในปีนี้ ระดับมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่พุ่งขึ้นสูงเนื่องจากปัญหาไฟป่าลุกลามบริเวณดอยสุเทพ ส่วนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอแม่สายก็มีประเด็นเช่นกัน คาดว่าน่าจะมาจากมลพิษทางอากาศที่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
Looking deeper into the open-burning control measure, we noticed that “zero-burning policy” applied in 2016–2019 did help reduce the peak air pollution levels compared to earlier years. However, with the policy in place, the period where we saw high levels of air pollution expanded by several months as farmers did their burning around the zero-burning period. This unintended consequence suggests that we may now need to have a more careful look at other factors such as weather and wind forecasts to determine how best to manage the open-burning and minimize the impact.
นอกจากนี้ ทางทีมวิจัยได้ทดลองวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการห้ามเผาไร่ ที่รัฐบาลได้กำหนดใช้ในช่วงปี 2559–2562 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสามารถช่วยลดระดับสูงสุดของมลพิษทางอากาศลงได้จริง อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วงปีที่มีการใช้มาตรการห้ามเผานั้น ระดับมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูงนานกว่าช่วงก่อนหน้าที่ยังไม่มีมาตรการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าเนื่องจากชาวไร่ทำการเผาทั้งก่อนและหลังช่วงเดือนที่มีมาตรการห้าม ดังนั้น เราอาจจะต้องเริ่มพิจารณานำปัจจัยอื่นๆ เช่นสภาพอากาศ ทิศทางลม เข้ามาร่วมในการกำหนดมาตรการควบคุมการเผาไร่ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผลกระทบจากการเผาไร่มีน้อยที่สุด
Key Messages from the Panel
สรุปประเด็นสำคัญจากช่วง Open Discussion
Por Luang: Volunteer firefighters in our village don’t have any funding nor any safety net like insurance. We fear that one day if some of us get into an accident we won’t be able to handle that. We also hope that perhaps the military units — with resources and manpower — can support the work. Perhaps just for a few months in the dry season, they can send units out to patrol the forests to prevent burning.
พ่อหลวงนวย: อาสาสมัครป้องกันไฟป่าในหมู่บ้านเราไม่มีงบประมาณและทรัพยากรเลย ไม่มีแม้กระทั่งประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิต เราก็กังวลนะว่าถ้าวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเราจะรับมืออย่างไร ความหวังอย่างหนึ่งก็คืออยากให้มีการช่วยเหลือจากทางกองทัพ โดยอาจจะส่งกำลังพลมาช่วยออกลาดตระเวนในพื้นที่ป่า อย่างน้อยก็ช่วงฤดูแล้งสัก 2–3 เดือน เพื่อให้ไม่ให้การแอบลักลอบเผาป่า
Dr.Veerachai: The key question is how we can ensure involvement from all stakeholders in coming up with the solutions. We need to ensure local administrative offices are empowered and involved in the effort, and we need to increase understanding and reduce conflict between the urban and rural communities. We need a way to manage open-burning in agriculture that is fair and equitable for everyone. Lastly, the Royal Forest Department can support firefighter training for volunteers who want to help fight the wildfires; so please reach out to obtain training support and don’t do it on your own.
ดร.วีรชัย: คำถามหลักเลยคือทำอย่างไรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา[ไฟป่าและการเผาไร่] ซึ่งต้องรวมถึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย อีกทั้งเราต้องเพิ่มความเข้าใจและลดความขัดแย้งระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท เราต้องหาแนวทางการบริหารและควบคุมการเผาไร่ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ใช่กฏเกณฑ์ที่เอื้อให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
Dr.Somporn: The most important success factor is the involvement of all stakeholders, especially local communities and volunteers. We need to work together year-round to plan and prevent fire before the open-burning season; we cannot just react to the fires during the dry and pollution season. Funding is also important, so we need both official budget and private support in fighting the problem. Academic institutions like ours can support the work with data and research. We may also be able to set up training centers on wildfire, forest management, and air pollution.
ดร.สมพร: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาไฟป่าและการเผาไร่เพื่อการเกษตรคือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่และอาสาสมัคร เราต้องทำงานร่วมกันตลอดปีเพื่อ “ป้องกัน” ก่อนจะเกิดปัญหา ไม่ใช่มารวมกันพยายามแก้ปัญหาแค่เฉพาะในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ งบประมาณก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรจะเข้ามาร่วมสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในส่วนของสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษา สิ่งที่เราทำได้คือสนับสนุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและองค์ความรู้ รวมถึงการฝึกอบรมอาสาสมัครในการป้องกันและควบคุมไฟป่าและมลพิษทางอากาศ
Q+A from the Audience
สรุปประเด็นสำคัญจากช่วง ถาม-ตอบ กับผู้ชม
How do we “practically” manage the open-burning in agriculture?
เราจะบริหารการเผาไร่ทางการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
Dr.Somporn: Chiang Mai University has met with Chiang Mai local administration to explore using computer modeling and weather forecast in determining the burning control measures.
ดร.สมพร: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังร่วมมือกับทางจังวัดเชียงใหม่ในการศึกษาการใช้โมเดลคอมพิวเตอร์และการพยากรณ์อากาศมาใช้ในการกำหนดมาตรการควบคุมการเผาไร่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Dr.Veerachai: Royal Forest Department is also working on model-based burning control, but the challenge is the difficulty in modeling smoke behaviors and ventilation indices in various areas. Getting local communities involved is also another challenge.
ดร.วีรชัย: กรมป่าไม้เองก็กำลังศึกษาเรื่องการใช้โมเดลคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการเผาและไฟป่าเช่นกัน ความยากอยู่ที่การพยากรณ์พฤติกรรมการกระจายตัวของควันไฟ ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศต่างๆ อีกทั้งการหาความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ก็เป็นประเด็นท้าทายอีกประเด็นหนึ่ง
In regards to wildfire and air pollution, have official units and the government been supporting the local communities?
ในเรื่องการควบคุมไฟป่าและมลพิษทางอากาศ ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทอะไรหรือไม่
Por Luang: In our village, we have been managing wildfires on our own the whole time. We do get some support from the local municipal office but we mostly it’s our own manpower taking care of the 35 sq.km area.
พ่อหลวงนวย:ในพื้นที่ของเรา เราดูแลกันเองมาโดยตลอด มีความช่วยเหลือจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบ้าง แต่ไม่มาก
Dr.Veerachai: There are now some networks of villages doing joint-work on wildfire control but the network is not extensive and also without funding. Efforts on community forest management are happening but again, the lack of funding poses a challenge.
ดร.วีรชัย: ที่ผ่านมาเริ่มมีการสร้างเครือข่ายหมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่เพื่อร่วมกันรักษาป่าภายใต้แนวคิด “ป่าชุมชน” อยู่บ้าง แต่ยังไม่กว้างขวาง และปัญหาสำคัญเลยคือการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนงานส่วนนี้
Dr.Somporn: With Doi Suthep wildfire this year, it was apparent that citizens were engaged and played a support role through their donations of funds and equipment so that was a good sign of public engagement.
ดร.สมพร: จากกรณีของไฟป่าดอยสุเทพปีนี้ ค่อนข้างชัดเจนว่าประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ เริ่มตื่นตัวและเข้ามาร่วมสนับสนุนอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน สิ่งของ หรืออุปกรณ์ให้กับอาสาสมัคร ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีจากภาคประชาชน
Are there alternatives to open-burning in agriculture?
นอกจากการเผาไร่ มีหนทางอะไรอย่างอื่นในการทำการเกษตรหรือไม่
Dr.Veerachai: There are many alternatives, but they are not feasible due to costs when trying to cover a large area. Open-burning ban may also create unintended effects; for example a few years ago in Chiang Rai, with little burning due to the control measure, we saw a rise in pesticide usage among farmers which was not what we wanted in the vegetables we eat.
ดร.วีรชัย: ทางเลือกอื่นมีมากมาย แต่ปัญหาคือค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นจากการใช้ทางเลือกเหล่านั้นกับพื้นที่ไร่ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ มาตรการควบคุมการเผาไร่ ที่จำกัดช่วงเวลาการเผา อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้ เช่น ในเชียงรายเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ มีการกำหนดมาตรการห้ามเผา สิ่งที่เกิดขึ้นคือชาวไร่ต้องใช้สารเคมีในการทำลายซากพืชแทน ซึ่งส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ในดิน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สร้างปัญหา
So to find alternatives to burning, it’s important that costs are not prohibitive for farmers. The government, with expert support from economists, can help through — for example — subsidies or equipment provision to make the alternatives feasible.
การจะหาทางเลือกอื่นแทนการเผาให้กับเกษตรกร สิ่งสำคัญคือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะต้องไม่แพงเกินกว่าที่เกษตรกรจะรับไหว ภาครัฐอาจต้องเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ เช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน หรือการสนับสนุนอุปกรณ์ เป็นต้น
We cannot escape from agricultural burning, as some farmers believe that their income will be reduced without the burning practice. Some believe their careers will have to be changed if they are not allowed to garner benefits from the practice of burning. This is a socioeconomic problem; so long as farmers stand to benefit from burning then there will be burning.
การเผาไร่จะยังคงอยู่กับการเกษตรของประเทศไทยต่อไป เพราะหากไม่มีการเผา เกษตรกรบางส่วนอาจถึงกับต้องเปลี่ยนอาชีพทำกินเลย นี่คือปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ตราบใดที่ชาวไร่ยังได้ประโยชน์จากการเผา การเผาไร่ก็จะยังมีต่อไป
Chiang Mai University has done a lot of research; is the research being turned into practical applications for the local people?
จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมีการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงสำหรับคนในพื้นที่หรือไม่
Dr.Somporn: In our team we have experts from several departments together, and we are working on turning the hard sciences into more applicable outputs for local communities. One of the work being done is translation of research results into more digestible contents for the non-scientific community. It is clear that, through continued communication effort, awareness has been rising. People have gone from not knowing anything about air pollution to now understanding the basics about PM10 and PM2.5. That work will continue. Additionally, we also need voices and feedback from local communities on what they need help with.
ดร.สมพร: ในทีมวิจัยของเรามีนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา และกำลังอยู่ระหว่างการปรับผลการวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยหนึ่งในงานที่กำลังทำอยู่คือการแปลผลงานทางวิชาการให้เป็นองค์ความรู้ที่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนในพื้นที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ ซึ่งจากความพยายามในการสื่อสารความรู้ที่ผ่านมา ก็ชัดเจนว่าเกิดประโยชน์เพราะเดิมประชาชนแทบจะไม่รู้จักเรื่องของมลพิษทางอากาศ แต่มาวันนี้คนส่วนมากอย่างน้อยก็เคยได้ยินคำว่า PM10 และ PM2.5 กันมาพอสมควร ซึ่งเราก็จะต้องเดินหน้าประชาสัมพันธ์ความรู้จากการวิจัยเรื่องนี้ต่อไป
What is to be done practically post-burning season?
อะไรคือสิ่งที่ควรทำหลังจากพ้นช่วงฤดูไฟป่าไปแล้ว
Dr.Veerachai: Post-burning rebuilding and reforestation are necessary. The rebuilding effort should be planned properly as some areas may need active rebuilding while others do not. We need to choose the right place and right approach to rebuilding and reforestation, else the new forest won’t last even a year.
ดร.วีรชัย: ช่วงหลังฤดูไฟป่า งานสำคัญคือการฟื้นฟูป่า ซึ่งต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างดี เพราะป่าแต่ละประเภทต้องการการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน ถ้าหากวางแผนไม่ดีและใช้กระบวนการฟื้นฟูป่าที่ผิด ป่าที่ปลูกขึ้นมาใหม่จะอยู่ได้ไม่ถึงปี
Dr.Veerachai: Fire prevention is also needed, and funding should be made available for that. Some people asked, why do we not buy more firefighting airplanes; to which the answer is that the funding for airplanes could be used more effectively for preventive measures.
ดร.วีรชัย: งานวางแผนการป้องกันไฟป่าก็เป็นสิ่งจำเป็น และควรต้องมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับงานเชิงเฝ้าระวังด้วย เคยมีบางคนถาม ทำไมถึงไม่ซื้อเครื่องบินดับไฟเพิ่ม คำตอบคือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องบินแต่ละลำ สามารถนำไปจัดสรรให้กับการป้องกันไฟป่าได้มาก เป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่ากว่า
Due to air pollution impact on tourism, has the tourism industry or authority played any part in supporting fire prevention and suppression?
จากผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ทางการท่องเที่ยวฯ หรือภาคธุรกิจการท่องเที่ยว เคยเข้ามาร่วมสนับสนุนงานการป้องกันและควบคุมไฟป่าหรือไม่
Por Luang: There has been no sign of support from the Tourism Authority of Thailand nor the Ministry of Tourism and Sports.
พ่อหลวงนวย: ที่ผ่านมาไม่เคยมีการสนับสนุนใดๆจากการท่องเที่ยวฯ หรือกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเลย
Dr.Somporn: Tourism business owners are indeed affected by the reduction in tourists, so they are starting to become aware but have not been involved in the preventive work yet. Most are doing responsive actions instead, e.g. installing air purifiers in their buildings.
ดร.สมพร: ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องผลกระทบของมลพิษทางอากาศบ้างแล้ว แต่ส่วนมากยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เช่น การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในโรงแรม แต่ยังไม่ค่อยเห็นการสนับสนุนงานเชิงรุกจากส่วนนี้เท่าไหร่
Final thoughts on collaboration to solve the problems
ข้อคิดเห็นส่งท้าย
Dr.Veerachai: The way to collaborate is for each stakeholder to agree in “taking a step back” and work for the benefits of all even at a slight impact on their own gains. For example, Chiang Mai local administration may be able to take 10% from the tourism enhancement budget to help with air pollution control measures, or create a support system to allow farmers to change their careers to be something that requires less burning. Hotels may be able to guarantee buying fresh produce from local farmers instead of big suppliers. The challenge is, I don’t know who has the power to bring everyone to work together in that way.
ดร.วีรชัย: วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไฟป่า การเผาไร่ และมลพิษทางอากาศได้ คือการพยายามให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง “ยอมถอย” คนละก้าว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เช่น ทางจังหวัดเชียงใหม่อาจต้องยอมตัดงบประมาณพัฒนาการท่องเที่ยวสัก 10% มาสนับสนุนงานการควบคุมมลพิษ หรือภาครัฐช่วยสนับสนุนเกษตรกรในการปรับวิถีชีวิตให้ไม่ต้องพึ่งการเผาไร่ ส่วนธุรกิจโรงแรมก็อาจจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรเหล่านี้ แทนการซื้อจากบริษัทใหญ่ ปัญหาคือ “ใคร” ที่จะมีความสามารถในการดึงคนจากทุกกลุ่มให้มาร่วมมือกันในลักษณะนั้นได้
Dr.Somporn: The problem is complex and dynamic, and it has to do with inequality too. At least, though, it’s good to see that people are getting interested in the issue so we are stepping in the right direction hopefully.
ดร.สมพร: ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ภาคประชาชนเริ่มมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าเราน่าจะมาถูกทางแล้ว
How you can contribute to the solutions?
- See the work of Thailand Clean Air Network, read the English version of the White Paper (Thai Version Here) and stay engaged on the facebook page for action here.
- Donate to fire and COVID relief efforts through Social Giver
- Support the work to push for #right2cleanair with Circular Design Lab- from an education awareness raising and policy shift standpoint. Contact us via Facebook or website
วิธีการร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหา
- เยี่ยมชมเว็ปไซต์สรุปงานของ เครือข่ายอากาศสะอาด, อ่านสมุดปกขาวอากาศสะอาด (Clean Air White Paper ฉบับภาษาอังกฤษที่นี่) และร่วมติดตามงานของเครือข่ายผ่านทาง Facebook
- ร่วมบริจาคสนับสนุนการแก้ปัญหาไฟป่าและการรองรับสถานการณ์ COVID-19 ผ่าน Social Giver
- ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดัน #right2cleanair กับ Circular Design Lab โดยติดต่อเราผ่านทาง Facebook หรือ Website
Get Educated and Motivated: Join us live on Wednesday, May 6th at 5pm (ICT) for Session 3 of the Series
ร่วมเรียนรู้กับเราต่อในสัปดาห์หน้า: วันพุธที่ 6 พฤษภาคม เวลา 17:00 น. กับ Webinar ตอนที่ 3
“Grassroots to Government” — how can Thailand turn the tide of air pollution and guarantee citizens’ right to clean air?
“จากรากหญ้าสู่รัฐบาล” — แนวทางการผลักดันจากระดับรากหญ้าเพื่อให้ประชาชนชาวไทยเข้าถึงสิทธิ์ที่จะมีอากาศสะอาดให้หายใจอย่างเท่าเทียมกัน
How to join, and what will we cover?
Our last session is about the power of social capital and the need to improve the system in the post-COVID19 world. We talk to ecosystem players about the challenges and opportunities that we face along the #right2cleanair path. We also tap into a network of institutional thought leaders from across civil society and the private sector who share perspective on collaboration and collective imagination, to artists who expose social issues and drive public engagement through less conventional approaches. Last but not least we invite you to have a say on the different ways we can shift the system together. We will close with concrete next steps that the Circular Design Lan, in partnership with the Thailand Clean Air Network, are taking in the coming months and how you can get involved.
สำหรับ Webinar สุดท้ายในซีรี่ส์นี้ เราจะหารือกันถึงเรื่องพลังของสังคมในการการผลักดันการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเป็นระบบหลังจากช่วงโรคระบาด COVID-19 หมดไป โดยเราจะได้พูดคุยกับผู้นำและนักคิดทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ล้วนมีส่วนร่วมในการเปิดเผยปัญหามลพิษทางอากาศและผลักดันการปรับปรุงระบบเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เราจะให้ผู้ชมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหารือและคิดหาหนทางแก้ปัญหา รวมถึงให้ผู้สนใจได้มีโอกาสร่วมงานกับ Circular Design Lab และ เครือข่ายอากาศสะอาด ในการเดินหน้าต่อสู้เพื่อสิทธิ์ในการเข้าถึงอากาศสะอาดของทุกคนด้วย
It of course is free and open to the public, you can register here.
Webinar นี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นเคย โดยสามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่
Final Session: Wednesday, 6 May, 5–6pm (Bangkok) “Grassroots to Government” — how can Thailand turn the tide of air pollution and guarantee citizens’ right to clean air?
“จากรากหญ้าสู่รัฐบาล” — แนวทางการผลักดันจากระดับรากหญ้าเพื่อให้ประชาชนชาวไทยเข้าถึงสิทธิ์ที่จะมีอากาศสะอาดให้หายใจอย่างเท่าเทียมกัน
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:00–18:00 น.
With a very special thanks to the core volunteers and extended support team of the Circular Design Lab ‘air pollution’ track. Want to get in touch and contribute, please let us know here or reach out to the air track co-leads Courtney, Laura, Weena, Soma.
Additionally, huge appreciation is extended to the Thailand Clean Air Network, and the many other volunteer coalition members and organizations, beyond the Circular Design Lab, who have contributed to the development of the White and Blue Papers, and raising the platform, as well.